วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ "กรุงเทพมหานคร" เป็นราชธานีของไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับที่ตั้งของกรุงธนบุรี โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระนครขึ้น โดยทำพิธีตั้งเสาหลักเมืองของพระนครใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ เวลาย่ำรุ่งแล้ว 45 นาที ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325
รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 6 เมษายน พ.ศ. 2325 7 กันยายน พ.ศ. 2352
รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 7 กันยายน พ.ศ. 2352 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 2 เมษายน พ.ศ. 2394
รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2 เมษายน พ.ศ. 2394 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411
รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478)
รัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478) 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ปัจจุบัน
รูปแบบการปกครองของไทยแต่สมัยเดิมมามีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักโดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ลักษณะการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์




ตลอดระยะเวลาเกือบ 500 ปี มิได้การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองขนานใหญ่แต่อย่างใดจนถึงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อันเป็นระยะที่ประเทศไทย ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าแต่ก่อนวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยประกอบกับอิทธิพลในการแสวงหา เมื่อขึ้นของชาติตะวันตกที่สำคัญ 2 ชาติ คืออังกฤษและฝรั่งเศสกำลังคุกคามเข้ามาใกล้ประเทศไทยประการสำคัญที่สุดก็คือ พระอัจฉริยะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงคาดการณ์สำคัญในอนาคตอย่างถูกต้อง จึงได้ดำเนินรัฐประศาสนโยบายนำประเทศไทยให้พ้นวิกฤตการณ์ จากการคุกคามทางการเมืองมาได้นำประเทศไทยสู่ความก้าวหน้ายุคใหม่อันเป็นสำคัญที่เป็น รากฐานในการปกครองปัจจุบัน การปฏิรูปการบริหาร (Administrativereform) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2435 นี้นับว่าเป็นการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยและนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศชาติและปวงชาวไทย ดังจะกล่าวถึงมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปการ การปกครองดังกล่าวต่อไป
การปกครองระบอบประชาธิปไตย


                     พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย หลังจากเสด็จประพาสสหรัฐอเมริกาแล้ว ได้ทรงมีพระราชดำริหารือที่ปรึกษาเกี่ยวกับการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทย และที่ปรึกษาได้เสนอความเห็นว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นควรจัดให้มีการศึกษาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจเรื่องดังกล่าวแก่ประชาชน โดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มิฉะนั้นผลที่ได้จากการพระราชทานรัฐธรรมนูญก็จะไม่เป็นไปตามพระราชปณิธานที่ตั้งไว้แต่เดิม
            การปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน2475ทำให้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชสิ้นสุดลงในระยะ2-3 วันแรก คณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหารซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น